
เช็คสิทธิ์บัตรทอง เช็คสิทธิ์ได้ด้วยตนเองกับ 5 ช่องทางได้ดังนี้
การตรวจสอบสิทธิ์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช็คสิทธิ์บัตรทอง ผ่าน 5 ช่องทาง โดยมีรายละเอียดดังนี้
ช่องทางที่ 1
- ไปติดต่อด้วยตนเองได้ที่สำนักงานเขต กทม. (19 เขต)/ สปสช. เขตพื้นที่ 1-13 / โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/ โรงพยาบาลของรัฐ
ช่องทางที่ 2
- โทรสายด่วน สปสช. 1330 กด 2 ตามด้วยหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และเครื่องหมาย # (สำหรับคนชอบโทรศัพท์ ช่องทางนี้สะดวกมาก)
ช่องทางที่ 3
- Application “สปสช.” สามารถดาวน์โหลดฟรี ได้ทั้งระบบ Andriod และ IOS (สแกน QR Code เพื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น)
(หมายเหตุ: เมื่อลงทะเบียนติดตั้งแอปพลิเคชั่นเรียบร้อยแล้ว สามารถเข้าไปใช้งานฟังก์ชั่น ตรวจสอบสิทธิ์ตนเอง และตรวจสอบสิทธิ์คนในครอบครัวได้ทันที)
ช่องทางที่ 4
- LINE Official Account สปสช. – แอดเป็นเพื่อนง่าย ๆ พิมพ์ค้นหา Line ID @nhso
(หมายเหตุ : ใช้งานง่าย ๆ เพียงเลือกฟังก์ชั่น “ตรวจสอบสิทธิ” และกรอกข้อมูล ก็สามารถตรวจสอบสิทธิได้แล้ว)
ช่องทางที่ 5
- ผ่านทางเว็บไซต์ สปสช. https://turkmenbashi.org/ (เข้าเมนูประชาชน เลือกหัวข้อ “ตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” หรือคลิกลิงก์นี้ https://turkmenbashi.org/
สิทธิประโยชน์ของผู้ถือบัตรทอง ทำอย่างไร จึงจะมีสิทธิได้รับบัตรทอง
บัตรทอง : สิทธิของคนไทย หรือ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตร 30 บาทรักษาทุกโรค) เป็นบัตรที่ออกโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิเข้ารับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการ ** โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
สิทธิ์บัตรทอง ประโยชน์ของผู้ถือครองบัตรทอง
1.การส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ทั้งก่อนและหลังคลอดการคลอด การคลอดบุตรรวมกันไม่เกิน 2 ครั้ง
2.การดูแลสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก รวมทั้ง วัคซีนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค
3.บริการวางแผนครอบครัว ได้แก่ การให้คำแนะนำปรึกษาแก่คู่สมรส การคุมกำเนิด
4.การตรวจ การวินิจฉัย การรักษาโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
5.ค่ายาและเวชภัณฑ์ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ
6.ค่าอาหารและค่าห้องสามัญ ระหว่างพักรักษาตัว ณ หน่วยบริการ
7.การจัดส่งต่อเพื่อการรักษาระหว่างหน่วยบริการ
เช็คง่ายๆ แค่ใช้บัตรประชาชนใบเดียวรู้สิทธิ เช็คสิทธิ์บัตรทอง
เช็คง่าย ๆ แค่ใช้บัตรประชาชนใบเดียว กรอกเลข 13 หลักในเว็บไซต์ ตรวจสอบสิทธิ “บัตรทอง” ง่ายๆ ด้วยตัวเอง จากกรณีที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้แจ้งผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในปัจจุบันให้ใช้ “บัตรประชาชน” เพียงใบเดียวยื่นที่หน่วยงานตรวจสิทธิ และ ในเว็บไซต์ได้ด้วยตัวเอง สามารถรู้ “บัตรทอง“ ได้ทันที
สำหรับวิธีตรวจสอบสิทธิ สปสช. มีรายละเอียดดังนี้
1.ให้เปิดที่ http://eservices.nhso.go.th/eServices/
2. คลิกไปที่เว็บไซต์ และ กรอกบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก
3. กรอก วัน เดือน ปี เกิด
4.จะทราบผลทันทีไม่เกิน 1 นาที
ก่อนหน้านี้ บอร์ด สปสช. ได้เห็นชอบให้มีการดำเนินการตามนโยบาย “30 บาทรักษาทุกที่” เพื่อพัฒนา 4 ระบบบริการดูแลผู้มีสิทธิบัตรนำร่อง คือ
1.ประชาชนเจ็บป่วยไปรับบริการกับหมอประจำครอบครัวในหน่วยบริการปฐมภูมิทุกที่ในระบบบัตรทอง ตามนโยบาย “30 บาทรักษาทุกที่”
2.ผู้ป่วยในไม่ต้องกลับไปรับใบส่งตัว
3.โรคมะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้ที่พร้อม
4. ย้ายหน่วยบริการได้สิทธิทันที ไม่ต้องรอ 15 วัน โดยจะเริ่มในวันที่ 1 พ.ย. 63 และ 1 ม.ค. 64 นั้น
ตัวอย่างบุคคลที่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลจากรัฐ(ที่ไม่มีสิทธิได้บัตรทอง)
1. ผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เช่น ลูกจ้างที่ทำงานในกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปยกเว้น ลูกจ้างทำงานบ้าน หาบเร่ แผงลอย หรือลูกจ้างของบุคคลธรรมดาที่ไม่มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย
2. ผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เช่น ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ และครอบครัว
3. ผู้อยู่ในความคุ้มครองของหลักประกันสุขภาพอื่นที่รัฐจัดให้ เช่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระ ครูโรงเรียนเอกชนในระบบ
ต่างจังหวัด ติดต่อลงทะเบียนทำบัตรได้ที่
– สถานีอนามัย
– โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน หรือ
– สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
เปิดให้บริการในวันจันทร์- ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.
กรุงเทพมหานคร ติดต่อลงทะเบียนทำบัตรได้ที่
– สำนักงานเขตที่อยู่ใกล้บ้าน เปิดให้บริการในวันจันทร์- ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.
– ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพ ชั้น M สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอาคารจัสมินอินเตอร์เนชั่นแนล 200 ม.4 ถ.แจ้งวัฒนะ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี11120 เปิดให้บริการในวันจันทร์- ศุกร์ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น
ใช้หลักฐานอะไรบ้าง ?
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ หากเป็นเด็กต่ำอายุต่ำกว่า15ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด)
2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่
3. แบบคำร้องลงทะเบียนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า/ขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ
กรณีพักอาศัยอยู่จริงไม่ตรงตามทะเบียนบ้าน ให้แสดงหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1. สำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่ตนไปพักอาศัยอยู่ พร้อมหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน
2. หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน ซึ่งรับรองว่าผู้ขอลงทะเบียนพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ
3. หนังสือรับรองของผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง
4. เอกสารหรือหลักฐานอื่น เช่น สัญญาเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำใบเสร็จรับเงินค่าโทรศัพท์บ้าน ฯลฯ ที่แสดงว่าผู้ขอลงทะเบียนพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ จริง
การใช้สิทธิบัตรทอง
ผู้ประสงค์ใช้สิทธิบัตรทองให้แสดงบัตรทอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนในการเข้ารับบริการสาธารณสุข ได้ที่หน่วยบริการประจำที่ระบุในบัตรก่อนทุกครั้ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
กรณีเจ็บป่วยทั่วไป
สิทธิประโยชน์ของผู้ถือบัตรทอง ทำอย่างไร?จึงจะมีสิทธิบัตรทอง
1. เข้ารับการรักษาพยาบาลที่หน่วยบริการปฐมภูมิก่อนทุกครั้ง
2. แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประกันประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตร
ประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร (ใบเกิด)
หมายเหตุ : ควรเข้ารับบริการในวัน เวลาราชการ หรือเวลาที่หน่วยบริการกำหนดไว้